Saturday, April 16, 2011

LDL-C จัดเป็นไขมัน"ตัวร้าย"

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันที่มีความจำเป็นสำหรับเซลต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลสมอง เซลประสาท ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันนี้ได้เองที่ตับ (ผู้ป่วยโรคตับ หรือ มะเร็ง จึงมีคอเลสเตอรอลต่ำ) และ ได้จากอาหารด้วย อาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารมันๆต่างๆ โดยเฉพาะที่ได้จาก ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อติดมัน หมูติดมัน หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ขาหมู เครื่องใน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง ไข่ปลา กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม แกงกะทิ เป็นต้น เมื่อไปเจาะเลือดเพื่อตรวจคอเลสเตอรอล ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจ คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) แต่ความจริงแล้ว ยังมีคอเลสเตอรอลย่อยๆอีก คือ แอล-ดี-แอล (LDL-Cholesterol) วี-แอล-ดี-แอล (VLDL-Cholesterol) เอช-ดี-แอล (HDL-Cholesterol)

LDL-C จัดเป็นไขมัน"ตัวร้าย"ที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง (เกิดอัมพาต) หัวใจ (เกิดโรคหัวใจขาดเลือด) ไต (เกิดไตวาย) อวัยวะเพศ (หย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ) เป็นต้น พบว่าความผิดปกติเหล่านี้สัมพันธ์กับระดับ Total cholesterol และ LDL-C อย่างมาก

HDL-C ตรงข้ามกับ LDL-C ไขมัน HDL-C นี้เป็น"พระเอก"ช่วยนำเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ออกมา แต่ทำงานช้ากว่าผู้ร้ายเสมอ ระดับไขมัน HDL-C ต่ำจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ในทาง กลับกันหากยิ่งสูงยิ่งดี ช่วยป้องกันโรคนี้ เราสามารถเพิ่ม HDL-C ให้สูงได้ด้วย การหยุดบุหรี่ ออก กำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก ยาบางชนิด ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนเล็กน้อย (แต่ผมไม่ แนะนำ) HDL-C นี้ก็ถูกควบคุมโดยพันธุกรรมเช่นกัน ดังนั้นบางรายทำอย่างไร HDL-C ก็ไม่สูงขึ้น

ค่าปกติของไขมันในเลือด ความจริงแล้วไม่มีค่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากหากเอาผู้คนที่ปกติ แข็งแรงดีมาตรวจหาระดับ Cholesterol อาจพบว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งถือว่าผิดปกติ ดังนั้นเราเรียกว่า "ค่าที่แนะนำ" จะเหมาะสมกว่า ค่าที่แนะนำนี้เปลี่ยนแปลงไปตามความรู้ทางการแพทย์ สมัย 10-15 ปีก่อน ถือว่า ไขมัน Cholesterol ไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัมต่อดล. แต่ความรู้ในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงค่านี้เป็น Total Cholesterol น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล.และ LDL-C น้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อดล. ในผู้ที่ยังไม่เกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว ควรรักษาให้ต่ำกว่านี้ คือ LDL-C ควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อดล. ในอีก 5 ปีข้างหน้าตัวเลขเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอีกแน่นอน

****************************************************************
Direct LDL Cholesterol
ชื่อภาษาอังกฤษ Direct LDL Cholesterol
ชื่อภาษาไทย การตรวจคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล ด้วยวิธีวัดระดับโดยตรง
ชื่อหลัก Direct Low-density lipoprotein cholesterol
ชื่ออื่น Direct LDL-C, Direct LDL, DLDL, LDL D
การทดสอบที่เกี่ยวข้อง LDL, Lipid Profile, Cholesterol, HDL, Triglycerides, ApoB, Lipoprotein Subfraction Testing
ความรู้ทั่วไป ตรวจเพื่ออะไร
การตรวจแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) ด้วยวิธีวัดโดยตรง หรือ direct low-density lipoprotein cholesterol test (direct LDL-C) เป็นการตรวจ เพื่อช่วยประเมินภาวะความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ และติดตามระดับไขมันจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรักษาด้วยยา ซึ่งสามารถตรวจระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C)ได้แม้ผู้ป่วยไม่ได้งดอาหาร
แอลดีแอล (LDL) เป็นไลโปโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นต่ำ มีปริมาณของคอเลสเตอรอลสูง แอลดีแอล (LDL) ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปส่งตามเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ สำหรับคอเลสเตอรอลส่วนที่เกินความต้องการ แอลดีแอล (LDL) จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียกแอลดีแอล (LDL) ว่า คอเลสเตอรอลชนิด “ร้าย” การประเมินระดับแอลดีแอล (LDL)ในเลือดมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ
โดยทั่วไประดับแอลดีแอล (LDL) สามารถหาค่าได้โดยใช้การคำนวณจากผลคอเลสเตอรอล, เฮชดีแอล (HDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ซึ่งส่วนใหญ่สามารถใช้ประเมินระดับแอลดีแอล (LDL)ได้ดี แต่จะมีความถูกต้องลดลงหากระดับไตรกลีเซอรืไรด์เพิ่มขึ้น
การตรวจแอลดีแอล (LDL) ด้วยวิธีวัดโดยตรงนั้น ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์มีผลน้อยมากและสามารถใช้ตรวจระดับแอลดีแอล (LDL) ได้แม้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงกว่า 400 มก./ดล. ตรวจเมื่อใด
การตรวจแอลดีแอล (LDL) ด้วยวิธีวัดโดยตรงเมื่อวิธีคำนวณไม่สามารถทำได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และแพทย์อาจสั่งตรวจเมื่อพบผลการตรวจไตรกลีเซอร์ไรด์ครั้งแรกมีระดับสูง บางห้องปฏิบัติการ การตรวจแอลดีแอล (LDL)ด้วยวิธีวัดโดยตรงจะทำเมื่อระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงไม่สามารถใช้การคำนวณได้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแพทย์ไม่จำเป็นต้องสั่งตรวจแอลดีแอล (LDL)ด้วยวิธีวัดโดยตรง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดซ้ำ และลดเวลารอคอยการรายงานผล สิ่งส่งตรวจที่ต้องใช้ เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ
การเตรียมตัว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
แหล่งอ้างอิง
http://www.labtestsonline.org/understanding/analytes/dldl/glance.html
ห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ

No comments: