Saturday, April 16, 2011

เจียวกู้หลาน,เจียวกู่หลาน,เจียวกูหลาน

เจียวกู้หลาน , เจียวกู่หลาน, เจียวกูหลาน, เจียวกูหลัน, เจียวกู้หลัน คนไทยเรียก ปัญจขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วๆ ไปในทวีป เอเซีย เป็นพืชล้มลุก คนไทยเข้าใจว่าเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่นำเข้ามาจากประเทศจีน แต่จริง ๆ แล้ว เจียวกู้หลานก็มีในประเทศไทย มีมานานแล้ว แต่ในประเทศไทย ไม่มีการจดบันทึกประวัติ คนไทยเรามีหลักฐานปรากฎว่าเริ่มมีการจดบันทึกกันเป็นหลักฐานก็สมัยสุโขทัย เพราะตามประวัติศาสตร์ไทยเริ่มมีการนำอักษรที่พระร่วง หรือ พ่อขุนรามคำแหงมาใช้กัน แต่ในประเทศจีนมีการจดบันทึกกันมาอย่างยาวนาน กล่าวคือ เจียวกู้หลาน , เจียวกู่หลาน, เจียวกูหลาน, เจียวกูหลัน, เจียวกู้หลัน คนไทยเรียก ปัญจขันธ์ หรือ เบญจขันธ์
ว่าเป็นโสมใต้ เป็นอมตะสมุนไพรที่ฮ่องเต้ จีนใช้บำรุงร่างกายเป็นต้น
เจียวกู้หลาน , เจียวกู่หลาน, เจียวกูหลาน, เจียวกูหลัน, เจียวกู้หลัน คนไทยเรียก ปัญจขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ ในที่นี้ขอเรียกว่า " เจียวกู้หลาน"


เจียวกู้หลาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynostemma pentaphyllum Makino.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Miracle grass (หญ้ามหัศจรรย์),
Southern ginseng (โสมภาคใต้), 5-Leaf ginseng (โสมห้าใบ)
ชื่อจีน : เจียวกู่หลาน เซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ)
ชื่อญี่ปุ่น : อะมาซาซูรู (ชาหวานจากเถา)
ลักษณะของเจียวกู้หลาน
พืชเป็นพืชล้มลุกชนิดเถา เลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตงน้ำเต้า มีใบ 3-5 ใบ ด้านบน และด้านล่างใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม เป็นพืชขึ้นตามธรรมชาติ ส่วนที่นำมาใช้คือส่วนเหนือดินของพืชที่มีอายุ 4-5 เดือน ขึ้นไป
การศึกษาวิจัยปัญจขันธ์ : เจียวกู้หลานมี 2 ชนิด
1.ชนิดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ให้เภสัชสารมากกว่าเจียวกู้หลานปลูก
2.เจียวกู้หลานปลูก นำพันธุ์ มาปลูกตามที่ต่าง ๆ
การศึกษาด้านเพาะปลูก
กระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ร่วมมือกับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ ส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยของสถาบัน โดยเบื้องต้นได้คัดเลือก เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ทางสถาบันกำลังดำเนินการอยู่ และส่งเสริมให้เกษตรกรในท้องถิ่นปลูกเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และการศึกษาวิจัยร่วมกันถึงวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว และการขยายพันธุ์ จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าผลการผลิต เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์จากพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณสารสำคัญสูงตามเกณฑ ์มาตรฐาน และไม่มีสารปนเปื้อนซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี
การศึกษาวิจัย เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์ : การศึกษาด้านเภสัชวิทยา
ผลจากการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่าปัญจขันธ์มีสารที่มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้นอนหลับ รักษาแผล ในกระเพาะอาหารลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด ต้านอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น และนอกจากนี้การศึกษาพิษเรื้อรังในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัย
การศึกษาวิจัย เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์ : องค์ประกอบทางเคมี
ข้อมูลการวิจัยของวิจัยชาวจีนและ ญี่ปุ่นพบว่า เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์มีสารสำคัญอยู่หลายชนิดที่พบมา เรียกกันทั่วไปว่า Gypenosides เป็นสารจำพวก Saponin ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 80 ชนิด และ เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์ยังประกอบด้วยสารสำคัญคือ Gypenosides เป็นสารประเภทไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (Triterpene Saponins) ซึ่งมีสูตรโครงสร้าง คล้ายคลึงกับ
Ginsenosides ที่พบในโสม (Panax ginseng) นอกจากนี้ซาโปนิน ที่พบใน เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์มีจำนวน 82 ชนิด แต่ซาโปนินที่พบในโสมมีเพียง 28 ชนิด ในจำนวนนี้มี 4 ชนิดที่เหมือนกัน ได้แก่ Gypenosides Rb1 (Gypenoside III หรือ Gynosaponin C), Ginsenosides Rb3 (Gypenoside IV), Ginsenoside Rd (Gypenoside VIII), และ Ginsenoside F3, (Gypenoside XII) นอกจากนี้ยังมี Gypenosides อีก 11 ชนิด ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับ Ginsenosides การใช้ประโยชน์ส่วนนี้จะแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ โสมเป็นสมุนไพรร้อน แต่ เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์ เป็นสมุนไพรเย็น

การศึกษาวิจัย เจียวกู้หลาน หรือ ปัญจขันธ์ : องค์ประกอบทางเคมีในห้องทดลอง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเจียวกู่หลานต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบอาศัยเซลล์ของหนูถีบจักรที่ถูกกดภูมิคุ้มกันโดยการ ฉายรังสีแถบแกมมาขนาด 4 Gy ก่อนให้สารสกัดขนาด 32 มก./กก./วัน และขนาด 160 มก./กก./วัน เป็นเวลา 10 วัน พบว่าการแบ่งตัวของ
ลิมโฟซัยท์เมื่อถูกกระตุ้นด้วย PHA, LPS และ ConA กลับสู่สภาวะปกติในวันที่ 15 ของการศึกษา เมื่อทดสอบโดยใช้ mononuclear cells จากกระแสเลือดของคนปกติ พบว่าสารสกัดเจียวกู่หลานช่วยเพิ่มการ แบ่งตัวของ ลิมโฟซัยท์ อย่างมีนัยสำคัญที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1 ng/ml ถึง 100 g/ml รวมทั้งแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชไอวีโปรทีเอสในหลอดทดลองได้ผลดี
เมื่อทดสอบความเป็นพิษทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเจียวกู่หลานในหนูขาว พบว่าสารสกัดเจียวกู่หลานมีความปลอดภัยสูงแม้ว่าจะให้สารสกัดในขนาดสูงถึง 750 มก./กก./วัน
จากการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเจียวกู่หลานในอาสาสมัครจำนวน 30 ราย โดยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ และเกณฑ์การเลิกการเข้าร่วมการศึกษาอย่างชัดเจน
มีการสัมภาษณ์ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการทุก 2 สัปดาห์เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา ทางชีวเคมีของซีรัม และต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีระยะเวลาศึกษาประมาณ 3 เดือน
โดยคัดเลือกอาสาสมัครตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งอาสาสมัครเป็น 2 ชุดๆละ 15 คน ให้อาสาสมัครชุดที่ 1 รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลครั้งละ 1 แคปซูล (gypenosides 40 มก./แคปซูล)
หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกันนาน 2 เดือน และอาสาสมัครชุดที่ 2 รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล (gypenosides 40 มก./แคปซูล) หลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง
เช้า-เย็น ติดต่อกันนาน 2 เดือน เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการเสริมภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อให้อาสาสมัครรับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลครั้งละ 1-2 แคปซูล (gypenosides 40 มก./แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 2 เดือน มีความปลอดภัย และไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ดังนั้นจึงสมควรศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณ ทั้งต้นตั้งแต่ยอดถึงรากมีส่วนประกอบสำคัญเท่ากับโสมถึง 6 ชนิดรวมกัน ช่วยเสริมสร้างพลัง ช่วยรักษาโรคเฉียบพลันและร้ายแรงของคนวัยกลางคนจนถึงวัยชรา เช่น โรคเส้นเลือดใหญ่อุดตัน ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ เบาหวาน หอบหืด และโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เข้มแข็ง มีพลัง ทำให้ร่างกายมีความต้านทานโรค ระบาดได้ และรู้สึกกระชุ่มกระชวย "ฟื้นความหนุ่มสาว" กลับคืนมาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ซึ่งผลการศึกษาวิจัยช่วยให้นอนหลับดี ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกันยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เสริมส่งกระบวนการเมตตาบอริซึ่ม ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมาก
ข้อมูลการวิจัยเพิ่มเติม

ในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มอีก ถึง 3 ชนิด คือ เควอซิติน ( Quercetin ) เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ: ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว โพลีฟีนอล (Polyphenols) มีฤทธิ์ป้องกันอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งกระเพาะอาหาร ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้รดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย อีกทั้งเจี่ยวกู้หลานนั้นยังเป็นสมุนไพรประเภทชงคล้ายชา ( ไม่รวมชา ) แต่จะไม่มีสารคาเฟอีน จึงไม่ทำให้เรานอนไม่หลับ
อ้างอิง จากสาราณุกรม เสรี

No comments: