Saturday, April 16, 2011

โสม เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง

โสม เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมใช้และยอมรับนับถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยถือกันมานาน กว่า 5,000 ปี
ว่าเป็นยาวิเศษอันทรงคุณค่ายิ่ง ต่อมาการนิยมใช้โสม ได้แพร่หลายไปยังส่วนต่างๆของโลก และในปัจจุบันมีการเพาะปลูก โสมกันทั่วไปทั้งในประเทศ
จีน ญี่ปุ่นเกาหลี รัสเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
อย่างไรก็ตามโสมมีอยู่ด้วยกันหลายพันธ์ แต่ละพันธ์จะมีสรรพคุณ แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและท้องถิ่นที่ทำการเพาะปลูก
โสมพันธุ์ดีที่สุดนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A. Mayer เป็นพืชในตระกูล Araliaceae
ซึ่งเป็นโสมพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศจีน และเกาหลี
คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค "
การเพาะปลูก
การเพาะปลูกโสมมีกระบวนการที่ยุ่งยาก และซับซ้อน โสมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยเพาะจากเมล็ดเท่านั้น
ต้นโสมต้องการอุณหภูมิต่ำ สภาพาดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ การปลูกโสมใช้เวลายาวนานนับจากการเพาะเมล็ด
ซึ่งจะต้องเป็นเมล็ดสุกและแก่เต็มที่จากต้นโสมที่มีอายุประมาณ 5 ปีเท่านั้น โสมที่จะเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตได้จะต้องมีอายุประมาณ 4-6 ปี
ฤดูกาลที่เหมาะสมของการเก็บเกี่ยวโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดคือระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมในแต่ละปี

ผลิตภัณฑ์จากรากโสมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ
1. โสมชนิดสีขาว ได้มาจากรากโสมที่เก็บเกี่ยวมาสดๆ ล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง รากโสมที่แห้งแล้วจะมีสีเหลืองปนขาว ชาวจีนเรียกว่า “ยิ่นเซียม”
2. โสมชนิดสีแดง ทำจากรากชนิดเดียวกับชนิดโสมสีขาวแต่ต่างกันที่วิะการผลิต คือจะนำเอารากโสมสดที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาทำการฆ่าเชื้อโรค
โดยการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 120๐C –130๐C เป็นเวลานาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท ชาวจีนเรียกว่า
โสมเกาหลีนิยมใช้มากกว่าโสมสีขาว
สารออกฤทธิ
แม้รากโสมจะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลในการบำบัดรักษาโดยไม่มีข้อโต้แย้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของโสมในด้านการบำรุงรักษาสุขภาพแต่ในปัจจุบัน
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราสามารถววิเคราะห์ และพิสูจน์โสมในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีได้ เมื่อมีผลการวิเคราะห์และพิสูจน์
ทำให้โสมได้รับความนิยมแพร่หลาย และเชื่อถือกันมากยิ่งขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคของโสม โดยไม่มีฤทธิข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อการเสพติดเหมือนสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ
นักวิทยาศาสตร์ได้นำเอารากโสมและสารสกัดจากรากโสมมาทำการวิเคราะห์และตรวจพิสุจน์พบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นพวก Interpene saponins
ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกว่า “Ginsenosides ”.
การวิเคราะห์และตรวจพิสูจน์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น High Performance Liquid
Chromatography (HPLC), Mass Spectrometry (MS), Nuclear Magnetic Resonance Spectrometry (NMR) เป็นต้น
สามารถแยกและจำแนกสาร Ginsenosides จ ากรากดสมและสารสกัดจากรากโสมได้อย่างน้อย 22 ชนิด
ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อนำ Ginsenosidesทั้งหมดมาใช้รวมกัน
จะมีฤทธิ์เป็นตัวปรับสภาพร่างกายให้มีความสมดุลย์ตามธรรมชาติ (หยิน-หยาง) ตามที่ร่างกายต้องการ เรียกว่า Adaptogenic agent
Ginsenosides ชนิดต่างๆที่พบในปัจจุบันนั้น มีสารสำคัญหลักอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re และ Rg
ส่วนที่เหลือเป็นสารฤทธิ์รอง คือ Rb3, Ra, Ra1, Ra3, RO, R1,Rg2, Rg3, Rh1 และอนุพันธุ์เกลืออินทรีย์
นอกจาก Ginsenpsides ชนิดต่างๆ แล้วยังพบว่ารากโสมมีสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ ์ต่อร่างกายอีกมากมายกว่าสองร้อยชนิดที่สำคัญได้แก่
สเตอรอล, น้ำมันหอมระเหย, แป้ง, น้ำตาล, วิตามินชนิดต่างๆ กรดอะมิโน และเป็ปไทด์
Ginsenosides เป็นตัวกำหนดคุณค่าของโสม จากการวิเคราห์และตรวจพิสูจน์ด้วย วิทยาการและเทคโนโลยีทันสมัย
พบว่าในโสมต่างพันธุ์หรือแม้แต่ในโสมพันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างถิ่น และรากโสมมีอายุไม่เท่ากันจะมีส่วนประกอบของ Ginsenosides
ต่างชนิดกัน และปริมาณ Ginsenosides ในแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน นอกจากนั้นยังพบว่า Ginsenosides ที่สะสมอยู่ต่ามส่วนต่างๆ
ของรากโสมก็มีจำนวนและปริมาณไม่เท่ากัน กล่าวคือในส่วนรากโสมใหญ่หรือส่วนลำตัว มี Total Ginsenosides เพียง 1.5% ขณะที่ส่วนรากแขนงและ
รากฝอยหรือส่วนที่เป็นแขนขามีอยู่ 3-4% และส่วนหัวมีมากถึง 5-9%
ดังนั้น คุณค่าของโสมจึงไม่ได้อยู่ที่รูปร่างลักษณะของรากโสม แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของ Ginsenosides ที่มีอยู่ในรากโสม
โดยสรรพคุณจะขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณ Ginsenosides ความครบถ้วนของ Ginsenosides แต่ละชนิดในอันตราส่วนที่เหมาะสม
โสมที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน
โสมที่เพาะปลูกตามธรรมชาติจะมีจำนวน Ginsenosides ไม่เท่ากัน และมีปริมาณของ Ginsenosides แต่ละชนิดในอัตราส่วนไม่แน่นอน
โดยอาจมีการขาด Ginsenosides บางชนิด หรืออาจมีอยู่บ้างในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจนไม่สามารถออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ครบถ้วน
ปัจจุบัน เราสามารถแยกสารประกอบสำคัญของโสมได้จนครบถ้วนและมากขึ้น การทดลองนำ Ginsenosides ทั้ง 22 ชนิดมารวมกันในปริมาณและ
อัตราส่วนต่างๆกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมและคงที่ เพื่อให้ได้คุณค่าและประโยชน์แก่ร่างกายมากที่สุด ตลอดจนทำการสดสอบเชิง
คลินิกรวมถึงสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษ จนปรากฏใช้ได้ผล มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จึงได้กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ซึ่งกรรมวิธีนี้เรียกว่า การจัดทำเป็นมาตรฐาน Standardization และเรียกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยกระบวนการนี้ว่า “สารสกัดมาตรฐานโสม ”
ผลของโสมต่อร่างกาย
1.เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย: คุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า Antifatigue effect ของโสม ทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย สารพลังงาน ATP และ Glycogen ที่มีอยู่ใน กล้ามเนื้อจะถูกใช้หมด
อย่างรวดเร็วและเกิดกรดน้ำนม Lactic Acid เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า สารสกัดจากโสมช่วยให้เยื่อเซลล์สามารถดูดซึมอ๊กกซิเจนเพิ่มขึ้นถึง 21%
มีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้นร่างกายจึงปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้นขณะเดียวกับอัตราการเกิดกรดน้ำนมก็จะน้อยลง
เนื่องจากได้รับการการสังเคราะห์ให้กลับเป็น Glycongen ใหม่ และมีการสะสม ATP รวดเร็วขึ้น ดังนั้นอัตราการเกิดความเมื่อล้าของกล้ามเนื้อจึงลดน้อยลงด้วย
นอกจากนั้นสารสกัดจากโสมยังช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติรวดเร็วยิ่งขึ้น ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานได้ดีขึ้น
2. ต้านความเครียด: ผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผู้คนมีอาการผิดปกติในลักษณะต่างๆ ที่ตรวจสอบหาสาเหตุได่ยาก
เป็นต้นว่าอาการทางหัวใจ ปวดศรีษะ นอนหลับไม่สนิท ปัญหาการย่อยอาหารตลอดจน ปัญหาข้อข้องใจในการปฏิบัติภาระกิจประจำวัน
ที่ล้วนก่อให้เกิดความเครียดซึ่งส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจหากทิ้งไว้เป็นวลานาน อาจทำให้กลายเป็นอาการของโรคและอาการผิดปกติที่รุนแรงขึ้น
สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด Antistress Effect โดยช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้สามารถอดทนต่อความเครียดได้ในระดับหนึ่ง
โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนต่อมหมวกใต ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสม
Metabolism ต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียดได้
3. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: Ginsenosides Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมมีคุณสมบัติกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยา
กระตุ้นประสาทจำพวก Amphetamine หรือ Cocaine จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือน ต่อการนานหลับตามปกติ ส่วน Ginsenosides Rb และ Rc
จะออกฤทธิเกี่ยวกับการระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาท
ทั้งนี้การออกฤทธิ์กระตุ้นหรือระงับนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการของร่างกาย
4. ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ: เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ
หากการบำรุงด้วยโสม ทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย
5. ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง: จากากรทดสอบเชิงคลีนิก มีผลชี้ว่า สารสกัดจากโสมอาจทำให้ตับอ่อนหลั่ง อินซูลินออกมา ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้ Ginsenosides Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน
จึงอาจช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้
6.เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย: ผลการทดลองทางคลีนิกพบว่าสารสกัดโสมสามารถช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น
นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ทำการตรวจวิเคราะห์ปฏิกริยาตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
7. ช่วยเร่งฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย: จากการศึกษาวิจัยและผลทางคลีนิกพบว่าโสมสามารถต่อต้านโรคและอันตรายจากรังสีรวมถึงสารพิษต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรค แทรกซ้อนบางชนิด ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง และเพิ่มสมรรถภาพในการต้านความเครียดซึ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหายเป็นปกติจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น
8. ช่วยชลอความแก่: กระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เรียกว่า Lipid oxidation นั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สลายตัวจากอ๊อกซิเจน
อนุมูลอิสระนี้จะทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างให้เสื่อสลายลง ตามกระบวนการของความชรา โสมและสารสกัดมาตรฐานโสม สามารถทำลายอนุมูลอิสระของอ๊อกซิเจนช่วย
ให้เนื่อเยื่อเสื่อสภาพช้าลงประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัวปรับสภาพ "Adaptogenic agent” ของโสมทำให้ร่างกาย และจิตใจ มีความทนทานต่อความกดดัน
ส่งผลในการชลอกระบวนการเสื่อมชราให้ช้าลงทำให้ร่างกายคงความสดใสเยาว์วัยอยู่ต่อไปได้เนิ่นนานขึ้น
พิษวิทยา
การวิจัยทางพิษวิทยาทั้งในเชิงเฉียบพลัน (Acute Toxicity) และเชิงเรื้อรัง (chronic Toxicity) ยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือพิษที่อาจเกิดจากการ
ใช้สารสกัดมาตรฐานโสม แม้จะมีการใช้ติอต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นการรับประทานโสมหรือการใช้สารสกัดมาตรฐาน จึงมีความปลอดภัยสูงมาก
ใครคือผู้ที่ต้องการโสม
1. ผู้ที่ร่างกายอ่อนล้า หมดกำลังวังชา
2. ผู้ที่ขาดความกระปรีกระเปร่า เชื่องซึม ,
3. ผู้ขาดสมรรถภาพร่างกาย
4. ผู้ที่ต้องการสมาธิ
5. ผู้ที่มีความเครียด
6. ผู้ที่ต้องการมีสุขภาพแข็งแรง มีความมั่นคงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
http://www.schumit.com/default.asp?pgid=103

No comments: