Saturday, April 16, 2011

คาเฟอีน (Caffeine)

คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ,ชา,ผลโคลา คาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาติ และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ คาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในโลก
FDA ของสหรัฐจัด คาเฟอีน ให้เป็น "สารที่มีคุณสมบัติหลายอย่าง และจัดว่าเป็นสารที่ปลอดภัยสำหรับใส่ในอาหาร"

เนื่องจากคาเฟอีนเป็นสารในกลุ่มแซนทีนแอลคาลอยด์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ แอดิโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง โมเลกุลของคาเฟอีนจึงสามารถจับกับตัวรับแอดิโนซีน (adenosine receptor) ในสมองและยับยั้งการทำงานของแอดิโนซีนได้ ผลโดยรวมคือทำให้มีการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ซึ่งทำให้สมองเกิดการตื่นตัว นอกจากนี้พบว่าอาจจะมีการเพิ่มปริมาณของซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค ทำให้รู้สึกพึงพอใจและมีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนไม่ได้ลดความต้องการนอนหลับของสมอง เพียงแต่ลดความรู้สึกเหนื่อยล้าลงเท่านั้น

สมองจะมีการตอบสนองต่อคาเฟอีนโดยการเพิ่มปริมาณของตัวรับแอดิโนซีน ทำให้ฤทธิ์ของคาเฟอีนในการบริโภคครั้งต่อไปลดลง เราเรียกภาวะนี้ว่าภาวะทนต่อคาเฟอีน (caffeine tolerance)และทำให้ผู้บริโภคต้องการคาเฟอีนมากขึ้นเพื่อให้เกิดผลต่อร่างกาย ผลอีกประการที่เกิดจากการที่สมองเพิ่มปริมาณของตัวรับแอดิโนซีน นั่นคือทำให้ร่างกายไวต่อปริมาณแอดิโนซีนที่ผลิตตามปกติมากขึ้น เมื่อหยุดการบริโภคคาเฟอีนในทันที จะทำให้เกิดผลข้างเคียงคืออาการปวดศีรษะและรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อแอดิโนซีนมากเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้ ในผู้ที่หยุดบริโภคคาเฟอีนจะทำให้ปริมาณของโดปามีนและซีโรโทนินลดลงในทันที ส่งผลให้สูญเสียสมาธิและความตั้งใจ รวมทั้งอาจเกิดอาการซึมเศร้าอย่างอ่อนๆได้ อาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังจากการหยุดบริโภคคาเฟอีน แต่จะหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน อาการของการอดคาเฟอีนดังกล่าวสามารถบรรเทาได้โดยการใช้ยาแอสไพริน หรือการได้รับคาเฟอีนในปริมาณน้อย
ข้อดี
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สำหรับคนที่ไม่เป็น Hypertension คาเฟอีนจะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่ากระตุ้นประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกตื่นตัวไม่ง่วงนอนกระตุ้นการหลั่งของกรดเกลือในกระเพาะอาหารลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ
ข้อเสีย
เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเสริมสร้างความสูง เพราะมันเกี่ยวกับการไปลด bone mineral densityคาเฟอีนจะ induce การเกิด sleep disorder กับ anxiety disorderมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟเป็นระยะเวลานา(long term) จะยับยั้งการเรียนรู้ที่ต้องพึ่งสมองส่วนฮิปโปแคมปัส(hippocampus-dependent learning) และ ความจำระยะยาว จากการที่มันไปยับยั้งการสร้างสารสื่อประสาทในฮิปโปแคมปัสผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไปนานๆ จะมีอาการติดสารคาเฟอีน คือ ถ้าไม่ได้ดื่มจะรู้สึกเฉื่อยชา ไม่กระตือรือล้น หรือรู้สึกเหนื่อยล้าในคนที่ไวต่อฤทธิ์ของคาเฟอีนหรือได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้มีอาการใจสั่น มือสั่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับกระสับกระส่าย และปวดท้อง
ปริมาณของคาเฟอีนในอาหารต่างๆ
น้ำอัดลมทั่วไปจะมีคาเฟอีนประมาณ 10-50 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (โค้กหนึ่งหระป๋อง 31 มิลลิกรัม)
ขณะที่เครื่องดื่มชูกำลัง เช่นกระทิงแดง จะมีคาเฟอีนอยู่มากถึง 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
ชาทั่วไปราวๆ 30 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
ช็อคโกแลตแท่งราวๆ 10-20 มิลลิกรัมต่อ 1 oz.(28 กรัม)
กาแฟทั่วๆไป(ชงสำเร็จ) 65-100 มิลลิกรัมต่อแก้ว 8 oz.
กาแฟลดคาเฟอีน(decaffeine coffee) 8.6 - 13.9 มิลลิกรัมต่อแก้ว 16 oz. *(เปรีบยเทียบเท่า แก้วกาแฟเย็นขนาดกลางของ 7-eleven)
กาแฟจากการชงแบบ drip-brew(เอาเมล็ดกาแฟวางบนกระดาษ แล้วก็เทน้ำร้อนใส่อ่ะ) 85 มิลลิกรัมต่อแก้ว 8 oz.
ขอขอบคุณข้อมูล
http://www.sciencedaily.com
http://www.sciencedaily.com
http://www.sciencedirect.com/
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.indwes.edu/
http://en.wikipedia.org/

No comments: