Saturday, April 16, 2011

มะเร็ง

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์
รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ
เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

เท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด
มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง
สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ
การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ
ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของ
โรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่
1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล

มะเร็งที่รักษาให้หายได้
ปัจจุบันนี้ แพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายได้ หรืออย่างน้อยก็ ทำให้ ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตการอยู่รอดที่ยาวนานเท่ากับบุคคลปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน
ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ เพราะมะเร็งระยะ เริ่มแรกย่อมมีการตอบสนอง ต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายมากกว่าระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย

มะเร็งต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญ มีดังนี้

มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟไซติค ลิวคีเมีย
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกิ้น
มะเร็งไตในเด็กชนิด วิมส์ ทูเมอร์
มะเร็งลูกอัณฑะ
มะเร็งกระดูก ชนิด อ๊อสติโอเจนนิค ซาร์โคม่า
มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว
การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้
1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น
1.1 ประวัติครอบครัว
มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม
มีข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น
1.3ประวัติส่วนตัว
อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น
- ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ , มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
- ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก
- เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง
- หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ
1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ
- เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น
- ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
- เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย

2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้
- ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน
- ศีรษะ และคอ
- ทรวงอก และเต้านม
- ท้อง
- อวัยวะเพศ
- ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ
3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่
- การตรวจเม็ดเลือด
- การตรวจปัสสาวะ , อุจจาระ
- การตรวจเลือดทางชีวเคมี
3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์
มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น
- การเอ๊กซเรย์ปอด
เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ
- การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร
ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
- การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม
เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม
3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ
เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น
3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา
การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
- การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
- เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ
3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา
เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง
โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ
ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้
มะเร็งผิวหนังบางชนิดเช่น Basal cell carcinoma
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอดชนิด Small cell
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งชนิดเนื้อเยื่อ Germ cell


ยาเคมีบำบัด
เป็นยาหรือสารเคมีที่ใข้ในการรักษามะเร็ง อาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ยาเคมีบำบัดเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลมะเร็ง
เเละทำลายเซลปกติบางส่วน ด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้น
ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ทำให้ เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกันในการรักษา
บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลายชนิด ที่ให้ร่วมกัน
อาการข้างเคียง ยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญ และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร,
เส้นผม, เม็ดเลือด ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการ ให้ยาแต่ละชุด เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาสร้างเซลล์ปกติขึ้นมาทดแทน

อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่ง อาการไม่พึงประสงค์จะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา
ของร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบำบัดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิด ขึ้นจากการได้รับยา เพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลงหรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา
ถ้าเกิด มีอาการรุนแรง อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดไม่ได้หมายความว่า อาการของโรคมะเร็งเป็นมาก ขึ้น
และความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบำบัดต่อ เซลล์มะเร็ง
http://www.nci.go.th/Knowledge/index_general.html

No comments: