Saturday, April 16, 2011

มะเร็งลำไส้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้
เป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งทั้งหมดทั้งในเพศชายและเพศหญิงทั่วโลก พบมากในประเทศ แถบอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรปเหนือ และยุโรปตะวันตก สำหรับในประเทศไทย พบว่าเป็นมะเร็งที่พบ เป็นอันดับ 4 ของมะเร็งทั้งหมดทั้งในเพศชายและเพศหญิงและมากกว่าร้อยละ 90 มักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไปโดยจะพบเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
ปัจจัยเสี่ยง
1. การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและมีกากหรือไฟเบอร์น้อย
2. ประวัติการมีเนื้องอกหรือภาวะที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีโอกาสเพิ่มการเกิด มะเร็งลำไส้มากขึ้น
3. ประวัติการมีมะเร็งลำไส้ในครอบครัว หรือมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก และมะเร็งเต้านม พบว่ามีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้มากกว่าคนทั่วไป
อาการและอาการแสดง
อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรค โดยทั่วไปอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ปวดท้อง ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ การมีประวัติท้องผูกสลับท้องเสีย (change in bowel habit), คลื่นไส้อาเจียน, ท้องอืด, ถ่ายเป็นเลือด, อ่อนเพลียเบื่ออาหารหรือน้ำหนักลด และอาจพบก้อนในท้อง
การตรวจเพื่อวินิจฉัย
1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย
2. เมื่อสงสัยมะเร็งลำไส้ แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์สวนแป้งทางทวาร รวมทั้งการส่องกล้อง เพื่อประเมินขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของรอยโรค การตัดชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันสามารถทำได้ในระหว่างการส่องกล้อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการวินิจฉัย นอกจากนั้น การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อหาระยะของโรค
3. การตรวจเอ็กเซร์ปอด การอัลตราซาวน์ตับ เพื่อดูการแพร่กระจายของโรค
4. การตรวจเลือด ดูการทำงานของไขกระดูก ตับ ไต
การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างการ ทั้งนี้จะเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
ระยะของโรค

มะเร็งลำไส้ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 – ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังอยู่เฉพาะในตัวลำไส้ใหญ่
ระยะที่ 2 – ก้อนมะเร็งลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ระยะที่ 3 – ก้อนมะเร็งอาจลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อของลำไส้หรือไม่ก็ได้ แต่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ระยะที่ 4 – ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะใกล้เคียง หรือมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองไกลๆ หรือกระจายไปยัง อวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกได้ ได้แก่ ปอด ตับ เป็นต้น
การรักษา
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษาหลักในกรณีที่โรคยังไม่แพร่กระจาย คือ การผ่าตัด
การผ่าตัด การผ่าตัดเป็นการตัดเอาก้อนมะเร็งออกและลำไส้บางส่วนร่วมกับต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นออก การฉายรังสี และ/หรือยาเคมีบำบัด นิยมใช้เป็นการรักษาเสริม เพื่อเพิ่มผลการรักษาในดียิ่งขึ้น ปัจจุบันมีหลายลักษณะ ซึ่งอาจจะให้ก่อนหรือหลังการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์คำนึงจากระยะของโรคและผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในระยะที่ 4 ไม่สามารถผ่าตัดได้หรือมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ จุดมุ่งหมายในการ รักษาจะเป็นการประคับประคองอาการ มักจะเริ่มด้วยการในยาเคมีบำบัด สำหรับการฉายรังสีอาจจะช่วยได้ในกรณี การรักษาเพื่อบรรเทาอาการจากเจ็บเวลาถ่าย ปวดทวารหนักจากตัวก้อน หรืออาการปวดของการกระจายของมะเร็ง ไปยังอวัยวะอื่นๆ
การติดตามการรักษา
เมื่อได้รับการรักษาครบเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไปแพทย์จะนัดติดตามอาการ โดยในช่วง 1-2 ปีแรก หลังการรักษา อาจนัดติดตามอาการทุก 1-2 เดือน ปีที่ 3-5 หลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ในปีที่ 5 อาจนัดตรวจทุก 6-12 เดือน
http://www.chulacancer.net/newpage/information/colon_cancer/general-information.html

No comments: